LOGO JP
     
 
    
 
 
       สำนักงานบัญชี เจ พี แอนด์ แอสโซซิเอท : Welcome to our website. เลขทะเบียน : 0105553018225 เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 3033797190
THAI VERSION ENGLISH VERSION
 
 
BUSINESS REGISTRATION
บริการงานจดทะเบียนธุรกิจ
 
 
 
วัตถุประสงค์และรูปแบบของการจดทะเบียน
 


วัตถุประสงค์และรูปแบบของการจดทะเบียน
    การจดทะเบียนธุรกิจนั้นเริ่มตั้งแต่ผู้ประกอบการตัดสินใจได้ว่าจะเลือกประกอบธุรกิจในรูปแบบใด ก็จะจดทะเบียนธุรกิจตามประเภทธุรกิจนั้น เช่น

      ธุรกิจเจ้าของคนเดียว จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์
      ธุรกิจห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียนเป็นรูปแบบคณะบุคคล
      ธุรกิจห้างหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนเป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด
      ธุรกิจบริษัทจำกัด จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัทจำกัด

ข้อดี/ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ

           ข้อมูลต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่จะจัดตั้งธุรกิจ รวมถึงการจัดทำบัญชี และการยื่นเสียภาษีในแต่ละประเภทให้ศึกษา

รูปแบบของธุรกิจ

   1.1 ธุรกิจเจ้าของคนเดียว (Sole Proprietorship)
          เป็นกิจการที่ดำเนินโดยคนๆ เดียว


   ข้อดี
     จัดตั้งง่ายโดยคนๆ เดียว
     มีอิสระในการตัดสินใจ
     เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบคนเดียวต่อผลการดำเนินงาน
     ข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
     การเลิกกิจการทำได้ง่าย
     ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารต่ำ

   ข้อเสีย
     เจ้าของกิจการต้องรับหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
     ขาดความน่าเชื่อถือของกิจการ
     การจัดหาเงินทุนทำได้ยาก
     การตัดสินใจอยู่ที่คนคนเดียว
     ธุรกิจอาจไม่ยืนยาวและไม่ต่อเนื่อง
     เสียเปรียบด้านภาษีอากร
     บุคลากรมีข้อจำกัดด้านความเจริญก้าวหน้า

      •   1.2 ห้างหุ้นส่วน (Partnership)

        คือธุรกิจที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปทำสัญญาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรตกลงจะกระทำกิจการร่วมกันด้วยวัตถุประสงค์ ที่จะแบ่งกำไร ที่ได้รับจากการกระทำ ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนต้องลงทุนร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นตัวเงิน หรือทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ในสัญญาห้างหุ้นส่วนกำหนดรายละเอียดไว้



      การเลิกกิจการ

           เลิกตามที่สัญญากำหนดไว้
           เลิกตามกำหนดระยะเวลาที่วางเอาไว้
           หุ้นส่วนตาย ล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ            
           คำสั่งศาล

      การแบ่งประเภทห้างหุ้นส่วน

                ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnerships) หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้สิน   ร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแยกเป็นสองประเภท

              ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล
                เมื่อเกิดคดีจะฟ้องใครก็ได้

              ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลแยกจากหุ้นส่วน
                หากมีการฟ้องร้องต้องทำในนามห้างหุ้นส่วนก่อนต่อเมื่อ
                ทรัพย์สินของห้างไม่พอชำระหนี้ จึงจะฟ้องร้องจากหุ้นส่วนต่อไป

                ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) ต้องจดทะเบียน ซึ่งนิติกรรมใดๆ จะทำในนามของห้างหุ้นส่วนซึ่งผู้รับผิดชอบในห้างหุ้นส่วน แบ่งออกเป็นสองประเภท

              หุ้นส่วนชนิดจำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบหนี้สิน ไม่เกินจำนวนเงิน
                ที่นำมาลงทุน ซึ่งหุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิ์เข้าจัดการห้างหุ้นส่วน
                มีสิทธิ์เพียงแสดงความคิดเห็น กฎหมายห้ามนำชื่อหุ้นส่วนประเภทนี้
                มาตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนซึ่งหากหุ้นส่วนนี้ตาย หรือล้มละลาย
                ธุรกิจก็ยังดำเนินต่อไปได้

              หุ้นส่วนชนิดไม่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวน
                อย่างน้อยต้องมี 1 คน และมีสิทธิ์จัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้

         ข้อดี
           ระดมทุนจากแหล่งอื่นได้ง่าย มั่นคงและน่าเชื่อถือกว่าเจ้าของคนเดียว
            ระดมความรู้ที่หลากหลายมาช่วยกันบริหาร
            การจัดตั้งไม่ยุ่งยาก การรวมหุ้นมีสัญญาต่อกันที่ไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้
            หุ้นส่วนที่รับผิดชอบไม่จำกัดต้องเอาใจใส่การดำเนินงานคล้ายกิจการของตน
               มีอิสระในการบริหาร
            เลิกกิจการได้ง่าย

         ข้อเสีย
           มีข้อจำกัดในการโอนหุ้น
           ถอนเงินทุนออกได้ยาก
           อายุธุรกิจถูกจำกัดด้วยชีวิตของผู้เป็นหุ้นส่วน
           หุ้นส่วนก่อหนี้ได้ไม่จำกัด
           อาจเกิดความขัดแย้งในหมู่ผู้ร่วมหุ้น
           ไม่จำกัดความรับผิดชอบของหุ้นส่วน ทำให้ไม่กล้าเสี่ยงขยายกิจการ

        1.   1.3 บริษัทจำกัด (Limited Corporation)

          คือ ธุรกิจซึ่งเกิดจากการร่วมทุน ของกลุ่มคนเพื่อทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไรมาแบ่งกัน ลักษณะของบริษัทมีดังนี้

           ต้องมีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 3 คน (เป็นนิติบุคคลก็ได้)
           ทุนจะแบ่งออกเป็นมูลค่าต่างๆ กันเรียกว่าหุ้น
           ผู้ถือหุ้นจะขาย หรือโอนหุ้นให้ใครก็ได้
           ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นจำกัด เท่ากับจำนวนหุ้นที่ถือ
           การแบ่งกำไร บริษัทจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนหุ้นที่ถือ

          ข้อดี
           มีสภาพเป็นนิติบุคคล แยกตัวจากผู้ถือหุ้น มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
              มีสิทธิ์ดำเนินคดีในนามบริษัท
           บริษัทสามารถหาทุนเพิ่มในการขายหุ้น
           ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบเพียงมูลค่าที่ตนค้างชำระ
           ผู้ถือหุ้นสามารถขายหรือโอนหุ้นให้กับคนอื่นได้
           กรณีผู้ถือหุ้นตาย ล้มละลาย หรือศาลมีคำสั่งให้ออกจากผู้ถือหุ้น
             บริษัทก็ยังดำเนินกิจการได้
           มีความน่าเชื่อถือกว่าการจัดตั้งโดยเจ้าของคนเดียว หรือห้างหุ้นส่วน
             การเพิ่มทุนสามารถทำได้ด้วยการจดทะเบียนเพิ่มทุนและออกหุ้นขาย

          ข้อเสีย
           ขั้นตอนในการจัดตั้งยุ่งยาก และหน่วยงานรัฐดูแลเข้มงวด
           ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูง ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
           ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป
           ความลับเปิดเผยได้ง่าย
           บางครั้งบริษัทอาจต้องจ้างมืออาชีพจากภายนอกเข้ามา
             ทำให้ขาดความตั้งใจ ซื่อสัตย์ และเสียสละ

      การจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด

           กรณีเป็นข้อบังคับของบริษัท
           เมื่อสิ้นกำหนดเวลา กรณีที่ตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะกาล
           เมื่อเสร็จการ เมื่อบริษัทถูกตั้งขึ้นเพื่อทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง
           เมื่อมีมติให้เลิก
           เมื่อบริษัทล้มละลาย
           เมื่อศาลสั่งให้เลิก

      การตัดสินใจเลือกรูปแบบการทำธุรกิจ
          1. ประเภทของธุรกิจที่จะดำเนินการ ขนาด เงินลงทุน
          2. ต้องการบริหารกิจการและตัดสินใจเอง หรือจ้างมืออาชีพ
          3. เปรียบเทียบกฎหมายและภาษี ตามรูปแบบธุรกิจ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน
          4. พิจารณาถึงการขยายธุรกิจหรือยกเลิกธุรกิจ


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
บริษัท สำนักงานบัญชี เจ พี แอนด์ แอสโซซิเอท จำกัด
63/1 หมู่ที่ 4 ซอยสุขาภิบาล 5 แยก 5 ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220
Tel.+66(2) 552-1560, +66(2) 552-1562
Fax. +66(2)552-1561, +66(2)552-1577
Mobile. +668-18702177
E-mail : suvanee@jpassociate-th.com or jp@jpassociate-th.com

บริหารงานโดย : คุณสุวนีย์ พูลศิริ



 
 
 
copy right 2010