การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกับกระทรวงพาณิชย์
ธุรกิจเจ้าของคนเดียว หากเป็นการประกอบธุรกิจขายสินค้า
ให้จดทะเบียนพาณิชย์กับสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร
หรือต่างจังหวัด ให้ติดต่อ ที่ อบต.ธุรกิจงานบริการไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน ให้ปฏิบัติเหมือนธุรกิจเจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
ให้จดทะเบียนกับสำนักบริการจดทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
กระทรวงพาณิชย์ หรือต่างจังหวัด จดทะเบียนที่พาณิชย์จังหวัด
บริษัทจำกัด ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
การจัดทำบัญชีตามกฎหมาย
ธุรกิจเจ้าของคนเดียว (บุคคลธรรมดา)
และห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
ไม่ต้องทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีจะประกาศให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด
ตาม พรบ.ทางการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและบริษัทจำกัด มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังนี้
วันเริ่มทำบัญชี ต้องเริ่มนับแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนป็นนิติบุคคล
บัญชีที่ต้องจัดทำ ผู้ที่รับผิดชอบทำบัญชี จะต้องจบการศึกษาด้านบัญชี
โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. บุคคลธรรมดา หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
ต้องจบการศึกษาด้านบัญชี โดยมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
2. ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
มีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
ผู้ทำบัญชีต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี) และสำหรับทุนจดทะเบียน
มากกว่า 5 ล้าน มีสินทรัพย์มากกว่า 30 ล้านบาท
และมีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาท
ผู้ทำบัญชีจะต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
3. บริษัทมหาชน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมการค้า
บริษัทจดทะเบียน SET บริษัท BOI
ผู้จัดทำบัญชีต้องมีวุฒิปริญญาตรี (บัญชี)
ชนิดบัญชีที่นิติบุคคลจะต้องจัดทำ คือ
1. บัญชีรายวัน
บัญชีเงินสด
บัญชีเงินฝากธนาคาร
บัญชีรายวันซื้อ รายวันขาย
บัญชีรายวันทั่วไป
2. บัญชีแยกประเภท
บัญชีแยกประเภททรัพย์สิน หนี้สินและทุน
บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
บัญชีแยกประเภทลูกหนี้และเจ้าหนี้
3. บัญชีสินค้า
บัญชีรายวันและแยกประเภทตามความจำเป็น
การปิดบัญชี ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องจัดให้มีการปิดบัญชีของนิติบุคคลทุกรอบ 12 เดือนนับแต่วันเปิดบัญชีครั้งก่อน
การจัดทำงบการเงิน ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องจัดทำงบการเงินและยื่นต่อสำนักงานกลางบัญชี หรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ภายใน 5 เดือน นับแต่วันเปิดบัญชี
การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีหน้าที่ต้องรักษาบัญชีและเอกสารไว้ ณ สถานประกอบการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าประจำโดยเก็บรักษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
บทกำหนดโทษ พรบ.การบัญชี 2543 ได้กำหนดโทษมีกระทำผิด โดยต้องได้รับโทษตามลักษณะความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและโทษปรับ หรือทั้งจำคุกและปรับ แล้วแต่ประเด็น
ภาษีอากรสำหรับธุรกิจ (ตามประมวลรัษฎากร)
การประกอบธุรกิจมีรายได้ก็ต้องเสียภาษีอากร ภาษีเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในการประกอบธุรกิจ ซึ่งภาษีมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะฯลฯ
หลังจากได้มีการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการด้านภาษีซึ่งแยกคร่าวๆ ได้ ดังนี้
ธุรกิจเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
ขอมีเลขบัตรประจำตัวผูเสียภาษี ภายใน 60 วันนับจากวันที่มีเงินได้
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกำหนดให้ยื่นปีละ 2 ครั้ง
ยื่นภาษีครึ่งปี แบบ ภ.ง.ด. 94 ตั้งแต่วันที่ 1 กค. - 30 กย. ของทุกปี
ยื่นตอนสิ้นปี แบบ ภ.ง.ด. 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มค. - 31 มีค. ของทุกปี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการตามที่กฎหมาย
กำหนดให้มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มทำการ
หรือผู้ประกอบการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1,800,000 บาท ต่อปี
จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากภาษีขาย
หักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนและนำยื่นภายในวันที่ 15ของเดือนถัดไป
ภาษีธุรกิจเฉพาะ การธนาคาร ธุรกิจการเงิน การประกันชีวิต การรับจำนำ
การประกอบกิจการปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ การขายอสังหาริมทรัพย์
เพื่อการค้าหรือกำไร การขายหลักทรัพย์ การประกอบกิจการอื่นตามที่กำหนด
ในพระราชกฤษฎีกา เหล่านี้ต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะภายใน 30 วัน
หลังจากวันเริ่มประกอบกิจการ โดยคำนวณจากยอดขายในอัตราร้อยละ 3.3
ในแต่ละเดือน นำยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด
ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับจากวันจดทะเบียนนิติบุคคล
การเสียภาษีงินได้นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
และบริษัทจำกัด มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30
ของยอดกำไรสุทธิ (หรือมีสิทธิลดย่อนภาษีหากทุนจดทะเบียนไม่ถึง 5ล้านบาท)
การยื่นแบบ กำหนดให้ยื่นปีละ 2 ครั้ง การยื่นกลางปี (ภ.ง.ด.51) ยื่นภายใน 60 วัน
นับจากวันสุดท้ายของงวด 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี อีกครั้ง
คือการยื่นสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50) ต้องยื่นภายใน 150วัน หลังจากวันสุดท้าย
ของรอบระยะเวลาบัญชี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับธุรกิจเจ้าของคนเดียว
|